วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ Star Network

1. แบบดาว (Star Network)


ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจายคือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย

ที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์

เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์

เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใดอย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้



นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว



รูปภาพจาก http://www.v-bac.ac.th/Section/S_IT/Computer%20Network/unit3.html


ข้อดี


1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง

2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูล
   ทำได้ง่าย

3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน

4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร

5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย


ข้อเสีย

1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก

2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที

3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา

4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม

1.อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค  อ.ปาล์ม
2.กิตติศักดิ์ ปลื้มใจ  เกมส์
3.ธีรวุฒิ แสงทอง  เบล
4.สุภาวดี ทองศรีสุข  ฟิล์ม
5.ปฐมฤกษ์ ติ้งหมวก  จ๊อส
6. กันตภณ วิทยพันธ์  คิง
7. ธีระพงศ์ คงโต  เอ
8. กิตติกาญจน์ คชกาญจน์  กาญจน์
9. จักรกฤษณ์ นวนแก้ว  โอ
10. สิริพร ชูสิงแค  แอล
11. อาทิตยา จันทรมณี  ฝน
12. พัชรี เมืองสง  จุ๊บแจง
13. นิธิพงศ์ พงศ์วงประเสริฐ  นิว
14. วัชรา ดาวราย   แอม
15. กาญจนา สมพร  ละมุด
16. อัญชลี แสงอรุณ  โฟม
17. จามร กาญจนมุณีย์  มอน
18. วุฒิไกร ฆังคะมะโน  บี
19. ธนภัทร พูนพานิช   โสบ
20. เนตรชนก สะมะบุบ   นก
21. ปิยะวรรณ กิจการ   กิ่ง
22. ศุชัยยุทธ์ ซอยตะคุ   บ่าว
23. ศิริขวัญ  ชาญณรงค์  แอน
24. สุรศักดิ์ มุณีรัตน์  ตาล
25. พิทยา เฉกจ่าย  แพน
26. รุสดีน หมะหละ  ดีน
27. อภิลักษณ์  มีชัย  นิว
28. ณัฐพงศ์  เย็นใจ  แม็ก
29. วิชุดา หนูแข็ง   แอน
30. วิรัช บิลอะหลี  โต

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร


        ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม อาทิเช่น ระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โดยเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันตามอาคารบ้านพักอาศัยรวมไปถึงสำนักงานต่างๆ มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย โดยถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น เช่น การเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล การซื้อขายสินค้า รวมถึงความบันเทิง เป็นต้น ซึ่งสามารถกระทำได้สะดวกแะรวดเร็ว โดยระบบอินเตอร์เน็ตนั้นมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล หรือเรียกว่า "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์" ซึ่งในปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากกวาในอดีตเป็นอย่างมาก เพราะสามารถพบเห็นและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น สำหรับเนื้อหาบทความนี้จะกล่าวถึงภาพรวมในเรื่องของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
        การสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วระบบการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญดังนี้


        1.1 ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะผ่านสื่อกลางอาจจะเป็นแบบมีสายและแบบไม่มีสายก็ได้ เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้

        1.2 ฝุายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับส่งข่าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

        1.3 ฝุายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝุายส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

        1.4 สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝุายรับข้อมูล ซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ลำเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยปัจจุบันสื่อกลางมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบมีสาย เช่น สายคู่บิตเกลียว สายใยแก้วนำแสง และแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น

        1.5 โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝุายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่ กรณีที่ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารผิดพลาดจะถือได้ว่าการสื่อสารนั้นลมเหลว เช่น คนไทยต้องการสื่อสารกับคนลาว โดยต่างคนต่างพูดภาษาของตนเองรับรองว่า ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างแน่นอน จำเป็นต้องมีภาษากลางที่ทั้งสองฝุายยอมรับ ในที่นี้ให้เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งคนไทยและคนลาวก็ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกันก็จะสื่อสารกันเข้าใจ โพรโตคอลในที่นี้คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น

        โดยเมื่อนำองค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน สามารถแสดงได้ดังภาพ

 


องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล


2. องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์          
        การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้         2.1 คอมพิวเตอร์ คือ ระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไป โดยคอมพิวเตอร์จะเป็นรุ่นไหน ยี่ห้อไหนก็ใช้งานได้

        2.2 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card: NIC) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ปัจจุบันการ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์มาให้แล้ว

        2.3 สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล (Physical Media) คือ ช่องทางในการสื่อสารข้อมูลเป็นได้ทางแบบมีสายและแบบไม่มีสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น

        2.4 โพรโตคอล (Protocol) คือมาตรฐานหรือข้อตกลงที่ตั้งขึ้นเพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกัน หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น กรณีที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อผ่านโพรโตคอล TCP/IP เป็นต้น

        2.5 ระบบปฏิบัติเครือข่าย (Network Operating System: NOS) คือชุดโปรแกรมที่เป็นตัวช่วยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวกลางในการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย เช่น Windows server 2008, Unix และ Linux เป็นต้น

3. ข้อดีของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์        
        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายหลายประการด้วยกัน

        3.1 ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        3.2 ด้านการลดค่าใช้จ่าย คือ เมื่อมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายลง

        3.3 ด้านความสะดวกในด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่งผลให้การติดต่อเพื่อดำเนินธุรกรรมใด ๆ บรรลุผลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

        3.4 ด้านความน่าเชื่อถือของระบบงาน เนื่องจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีการจัดเก็บไว้หลายที่โดยมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการสิทธิการใช้งานของผู้ใช้และมีระบบปูองกันความปลอดภัย ที่ดีและมีประสิทธิภาพ


4.ข้อเสียของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
               

   4.1ลงทุนสูงและจัดการยุ่งยาก การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการจัดการระบบเครือข่าย ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง จึงต้องใช้งบประมาณ การเริ่มต้นลงทุนสูงมาก อีกทั้งเทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก จำเป็นต้องมีงบประมาณ เพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ

      4.2การแบ่งทรัพยากรกันใช้ นั้นอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้ทันทีทันใด เพราะหากมีการเรียกใช้ทรัพยากรเดียวกันจากคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องพร้อมกัน เช่น การใช้เครื่องพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตัวอื่นอยู่ก่อนหน้าแล้ว งานพิมพ์ของเราก็จะต้องเข้าคิวรอการทำงาน

      4.3ขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบเครือข่ายปัจจุบัน ยังขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านต่าง ๆ ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม แบบเครือข่ายอยู่มาก เพราะการพัฒนา ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูง ต้องใช้เวลาในการพัฒนา จึงจะสามารถสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
 
      4.4การรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังขาดความปลอดภัยในด้านการรักษาข้อมูลอยู่มาก มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้จากหลาย ๆที่ หรืออาจมีข้อมูลสูญหายได้ ในขณะติดต่อสื่อสาร เนื่องจากมีข่าวสารในระบบอยู่มาก


      4.5ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ ในระบบเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต การเรียกใช้ข้อมูลในไฟล์ผ่านระบบเครื่อข่ายนั้นจะมีความเร็วที่ช้ากว่าการเรียกใช้ข้อมูลกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตน ตัวกลางนำที่ใช้ ในการนำสัญญาณ ยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ เมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่มาก




ประวัติส่วนตัวและบทนำ

ประวัติส่วนตัว



                   








ชื่อ:นายรัชชานนท์  มณีสุข

ชื่อเล่น: ระ

วัน/เดือน/ปีเกิด: 17 มิ.ย 1978

รหัสนักศึกษา: 565703017

อาชีพ: พนักงานบริษัทเอกชน

ตำแหน่ง: Auditor

สนใจ: พระเครื่อง

กีฬาที่ชอบ: ฟุตบอล

มุมมองการเมือง: สร้างภาพ

ซีรี่ย์ชื่นชอบ: Prison Break

อีเมล์: ratcha_pcs@hotmail.com 




       
     ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคนเราในด้านต่างๆเช่น ทางด้านอุตสาหกรรมและด้านการศึกษารวมทั้งงานด้านบริการต่างๆ ซึ่งในกระบวนการทำงานเหล่านี้ของมนุษย์ยากจะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน โดยเฉพาะในงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันหลายโรงงานจึงมีผู้ให้ความสนใจที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในงานอุตสาหกรรมมากขึ้น